ทุนนิยมผูกขาด

 


ทุนนิยมผูกขาด

Monopoly Capitalism

By Will Roche

แปลและเรียบเรียง จักรพล ผลละออ

แปลและเรีบเรียงจากต้นฉบับ - https://marxist.com/monopoly-capitalism.htm



เราอาศัยอยู่ในห้วงสมัยที่ถูกปกครองโดยยักษ์ใหญ่ เจ้ายักษ์ที่ชื่อว่าบรรษัทข้ามชาติซึ่งไร้การตรวจสอบและเดินอวดอำนาจผ่านไปทุกที่ทุกแห่งบนโลกนี้ พวกมันสวาปามทุกสิ่งอย่างที่ขวางเส้นทางเบื้องหน้า ก่อนจะปล่อยทิ้งไว้เพียงเศษซากของความพังทลาย นี่คือสภาพสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันที่ผมอยากจะเรีบกมันว่าเป็นยุคสมัยของทุนนิยมผูกขาด เศรษฐกิจโลกยังคงไม่มีการปรับระดับตามที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ แม้ว่ากระบวนการทำให้เป็นอุตสาหกรรมจะขยายตัวไปจนถึงประเทศด้อยพัฒนาแล้วก็ตาม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้เป็นไปตามเส้นทางการพัฒนาที่ถูกกำหนดโดยบรรษัทระดับโลกซึ่งมีฐานอยู่ในประเทศทุนนิยมก้าวหน้า อันที่จริงควรกล่าวว่าพวกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยของการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมแล้ว บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง Wal-mart ทำกำไรสูงถึง 405,000 ล้านดอลลาห์ในปีที่ผ่านมา (ปี 2008) ซึ่งนั่นมากพอจะซื้อระเทศบังกลาเทศได้เสียด้วยซ้ำ! บริษัทนี้ยังมีหน้าร้านมากกว่า 7,500 สาขาทั่วโลกและจ้างงานคนกว่า 2 ล้านตำแหน่ง ขณะที่บริษัท Cargill บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารก็มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่กว่าขนาดเศณษฐกิจของประเทศในโลกที่ 3 บางประเทศเสียอีก 


วิกฤตเศรษฐกิจระดับโลกที่ผ่านมา (วิกฤตเศรษฐกิจ 2008) อาจทำให้บางบริษัทล้มหายตายจากไป แม้ว่าหลายบริษัทจะมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยในการจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจริงหรือไม่ อย่างเช่น ธนาคาร Lehman Brothers หากทว่าในท่ามกลางวิกฤติเศรษบกิจนี้เองกระบวนการรวมศูนย์ผูกขาดของทุนก็ยังคงเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดหย่อน บริษัท T-Mobile ประกาศควบรวมเข้ากับ Orange เพื่อให้กำเนิดบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ที่สุดขึ้นในสหราชอาณาจักร โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 37% หรือกรณีของบริษัท Panasonic ก็ทำการเข้าซื้อบริษัท Sanyo ที่ทำให้ Panasonic ครอบครองตลาดแบตเตอรี่ไว้ถึง 38% ขณะที่บริษัทยาอย่าง Pfizer ก็เข้าซื้อบริษัทคู่แข่งอย่าง Wyeth ในราคา 68,000 ล้านดอลลาห์ ทำให้ Pfizer ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาอันดับหนึ่งของโลกยิ่งทรงอำนาจมากขึ้นกว่าเดิม 


ทุนนิยมยุคแรก

ระบบทุนนิยมไม่ได้เป็นแบบที่เราเห็นในทุกวันนี้มาแต่ต้น ตลาดช่วงศตวรรษที่ 19 ระบบทุนนิยมประกอบด้วยบริษัทขนาดย่อมที่เป็นการประกอบกิจการระดับครัวเรือนเป็นหัก ในปี 1830 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือบริษัท Cyfartha ที่เป็นบริษัทประกอบอุตสาหกรรมเหล็ก มีมูลค่าของกิจการราว 2 ล้านดอลลาห์ และมีลูกจ้าง 5,000 คน ขณะที่อีกราวหนึ่งร้อยปีต่อมา บริษัทเหล็กที่ใหญ่ที่สุดคือ U.S.Steel มีมูลค่าสูงถึง 2.3 พันล้านดอลลาห์ และมีลูกจ้างรวม 250,000 คน ขณะที่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือบริษัทด้านพลังงานอย่าง Royal Dutch Shell นั้นมีสถิติทำกำไรในปีที่ผ่านมาสูงถึง 458 พันล้านดอลลาห์ 


อุตสาหกรรมหลายสาขาในปัจจุบันถูกครอบงำเอาไว้โดยบริษัทขนาดใหญ่จำนวนหยิบมือ ซึ่งถูกเรียกโดยนักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นกลุ่ม “ผู้ค้าผูกขาด” เราเรียกบรรดากลุ่มทุนนี้ว่าเป็นทุนผูกขาดในแง่ที่ว่าบรรดาทุนเหล่านี้สามารถร่วมกันครอบงำและกำหนดระบบเศรษบกิจทั้งหมดได้แบบองค์รวม ในสหราชอาณาจักร อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ 100 อันดับแรก ถือครองส่วนแบ่งในตลาดราว 47% ในปี 1948 ขณะที่ในปี 1968 สัดส่วนนี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 69% ขณะที่ปัจจุบันดูเหมือนตัวเลขนี้จะโตขึ้นไปถึง 85% ถึงตอนนี้คำถามของเราย่อมมีอยู่ว่าสภาวะการรวมศูนย์อำนาจและความมั่งคั่งขนาดมหึมานี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?


ความได้เปรียบเชิงขนาด

เมื่อบริษัทขนาดเล็กแข่งขันกันอย่างเสรี คุณจะได้รับผู้นำตลาดมาโดยธรรมชาติ เมื่อบริษัทกิจการเหล่านี้เติบโตขึ้นย่อมมาด้วยการที่บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้นบริษัทก็จะลงทุนในการผลิตขนาดใหญ่เพื่อจะผลิตสินค้าจำนวนมากให้ได้ในราคาที่ถูกลงกว่าเดิมและถูกยิ่งกว่าคู่แข่งของตน บริษัทเหล่านี้จะซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูกลงเนื่องจากการซื้อครั้งละจำนวนมาก บริษัทเหล่านี้จะขยายทักษะการทำงานเฉพาะด้านให้ลงลึกากขึ้นในหมู่แรงงานของตนเอง รวมถึงการจดทะเบียนลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อกีดกันคู่แข่งไม่ให้ลอกเลียนแบบสินค้า ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ความได้เปรียบเชิงขนาด” ยิ่งคุณเป็นทุนขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ นั่นยิ่งง่ายในการจะสร้างกำไร และทุนขนาดเล็กก็ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่ากำแพงกีดกันการแข่งขัน กล่าวคือ หากคุณต้องการจะแข่งขันกับบริษัทอย่าง Ford เงินทุนเริ่มต้นที่คุณต้องมีก่อนจะเข้ามาทำการแข่งขันในตลาดนี้คือเงินปริมาณราว 500 ล้านดอลลาห์ 


เมื่อบริษัทผู้นำในตลาดสองบริษัททำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน นั่นย่อมเป็นการเร่งเร้าให้บริษัทอื่นๆ ต้องควบรวมกิจการเพื่อจะทำการแข่งขัน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้นำไปสู่กระบวนการรวมศูนย์ที่มากและรวดเร็วขึ้น และบ่อยครั้งที่ทุนผูกขาดมักดำเนินเกมการต่อสู้ด้วยการซื้อบริษัทคู่แข่งในตลาด Rupert Murdoch’s News Corp ซึ่งเป็นเครือบริษัทผลิตสื่อและรายการขนาดใหญ่อันดับสองของโลก ก็ดำเนินการเข้าซื้อบริษัทคู่แข่งอย่าง Floorgraphics ที่กำลังดำเนินการฟ้องร้องบริษัทสื่อขนาดใหญ่เกี่ยวกับพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันในตลาด และนั่นคือหนทางหนึ่งในการชนะคดีโดนไม่ต้องขึึ้นศาล 


อำนาจในการกำหนดราคา

บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ล้วนเรียนรู้ว่าการแข่งขันกันด้านราคาสินค้านั้นลงท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลเสียต่อทุกคู่แข่งขัน ดังนั้นพวกเขาจึงเรียนรู้ที่จะ “ร่วมมือกัน” ดังนั้นเองราคาซื้อขายสินค้าจึงถูกตั้งให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยกลุ่มทุนผู้นำตลาด และบรรดาบริษัทคู่แข่งที่เหลือก็จะพากันยกระดับราคาขึ้นตามมาโดยลดหลั่นกันลงไป การแข่งขันระหว่างกลุ่มทุนนี้ยังคงเข้มข้นรุนแรง หากแต่มันย้ายไปแข่งขันกันที่ด้านการตลาดและการโฆษณา ไม่ใช่ที่การแข่งขันกันลดราคาสินค้า บรรดาทุนทั้งหลายทุ่มเงินลงไปในการแข่งขันด้านการผลิตโฆษณาชวนเชื่อให้สังคมเห็นว่าสินค้าของตัวเองดีกว่าคู่แข่ง  ดังนั้นเองผู้บริโภคจึงได้รับประโยชน์น้อยมากจากการแข่งขันระหว่างทุนในรูปแบบนี้ เพราะสิ่งเดียวที่เราไดรับคือคำโฆษณาและปริมาณโฆษณาที่มากขึ้นทุกวัน


ในการแข่งขันกันเพื่อสั่งสมกำไร ย่อมหมายความว่าสงครามการแข่งขันด้านการตัดราคาย่อมนำไปสู่อะไรบางอย่าง ซึ่งบ่อยครั้งที่ชนชั้นแรงงานมักจะเป็นผู้ที่ต้องแบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้น กรณีตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อ Tesco และ Asda ที่เป็นทุนค้าปลีกขนาดใหญ่ เริ่มต้นสงครามการตัดราคาใน “ตลาดกล้วย” โดยการลดราคาสินค้าต่ำกว่าต้นทุนการผลิตแข่งกัน ผลพวงที่ตามมาคือบริษัทคู่ค้าของ Asda ที่เป็นผู้ผลิตกล้วยอย่าง Del Monte ได้ทำการเลิกจ้างคนงานผลิตกล้วยกว่า 4,300 คนออก ก่อนจะจ้างพวกเขากลับเข้าทำงานด้วยการลดค่าจ้างลงครึ่งหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้นและสวัสดิการที่ลดลง นี่คือตัวอย่างของผลพวงจากการทำสงครามราคาระหว่างทุนใหญ่


ไม่เพียงเท่านั้นทุนผูกขาดยังมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบที่พวกเขาจะรับซื้อจากผู้ผลิตได้ด้วย อำนาจอันล้นเหลือนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวนาเกษตรกรในอังกฤษ พวกเขาถูกเอาเปรียบจากร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกโดยการกดราคาสินค้าการเกษตรให้ต่ำที่สุด จากข้อมูลของ Defra กว่า 63% ของเกษตรกรในอังกฤษ ไม่สามารถสร้างผลกำไรที่ยั่งยืนจากการขายสินค้าเกษตรได้ 


นอกจากนี้ยังมีกิจการในบางอุตสาหกรรมที่ทุนผูกขาดหลายกลุ่มเข้าพบกันอย่างลับๆ เพื่อจะตรึงราคาและกดราคารับซื้อวัตถุดิบ ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของ “การสมคบกันเพื่อครอบงำตลาด” ในปี 2004 เมื่อความต้องการด้านพลังงานพุ่งสูงขึ้น บริษัทด้านพลังงานในสหราชอาณาจักรกลับระงับการจัดหาพลังงาน ด้วยเหตุผลเรื่อง “ข้อตกลงเชิงเทคนิค” ในสัญญาซื้อขาย เป็นผลให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 


การรวมกลุ่มกันเพื่อครอบงำตลาดและขึ้นราคาเพื่อแสวงหากำไรจากส่วนต่างนี้ยังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อบริการสาธารณะ รายงานในปี 2005 ของสำนักงานการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม พบว่ามีการรวมหัวกันของบริษัทผู้ผลิตยาเพื่อเอาเปรียบและขูดรีดกำไรจากระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ อันส่งผลให้ภาครัฐของอังกฤษต้องใช้จ่ายงบเพิ่มไปนับร้อยล้านปอนด์ 


ทุนนิยมนักล่า

บรรษัทข้ามชาติบางแห่งใช้เทคนิคอันเลวร้ายอย่างมากในการเบียดขับคู่แข่งออกจากการแข่งขัน บริษัทร้านขายกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks เป็นหนึ่งในนั้น ทุนใหญ่ด้านกิจการกาแฟใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การปิดล้อม” กล่าวคือ บริษัทจะสร้างสาขาจำนวนมากในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกันเพื่อเบียดขับคู่แข่งออกไป เทคนิคนี้ใช้เงินจำนวนมากหากแต่ทุนใหญ่สามารถยอมรับได้ พวกเขายังใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การแย่งยึดพื้นที่” ด้วยการเสนอราคาค่าเช่าที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อแย่งชิงพื้นที่เช่าสำหรับเปิดร้านมาจากตู่แข่ง David Schomer เจ้าของร้านกาแฟชื่อ Espresso Vivace ใน Seattle เล่าว่า บริษัท Starbuck เจรจากับเจ้าของพื้นที่ที่เขาเช่าเพื่อเปิดร้านว่า ทุนใหญ่ยินดีจ่ายค่าเช่าสูงกว่าเป็นสองเท่าเพื่อเข้ามาเปิดร้านแทนที่ร้านของเขา

ปัจจุบัน Starbuck มีสาขาทั่วโลกกว่า 16,600 สาขา และมี Starbuck กว่า 115 สาขาในรัศมี 3 ไมลล์จากธนาคารแห่งชาติ ในลอนดอน โดยที่ตัว Starbuck เองมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในสหราชอาณาจักรทั้งสิ้นราว 30% 


ทุนการเงิน

กระบวนการควบรวมและผูกขาดในภาคการเงินได้สร้างผลกระทบขนาดใหญ่ต่อระบบเศรษบกิจโลก ในสิ้นปี 1985 สหรัฐอเมริกามีธนาคารกว่า 18,000 ธนาคาร แต่ในปี 2007 จำนวนธนาคารลดลงเหลือเพียง 8,534 ชื่อเท่านั้น และแนวโน้มก็ดูจะลดลงอีกอย่างต่อเนื่อง ในช่วงท้ายทศวรรษที่ 1990 สถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ที่สุด 10 อันดับของสหรัฐฯ ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินปริมาณเพียง 10% เท่านั้น แต่ปัจจุบันสัดส่วนนี้ขยายขึ้นไปถึง 50% ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวม 9 ล้านล้านดอลลาห์ 


Henry Kaufman นักวิเคราะห์การเงินชั้นนำได้ชี้ว่า “ในห้วงเวลาเพียง 1 ชั่วอายุคน ระบบการเงินของเราได้เปลี่ยนแปลงไป สถาบันทางการเงินถูกหลอมรวมอย่างรวดเร็วให้กลายเป็นบรรษัทผูดขาดอำนาจรวมศูนย์ขนาดใหญ่ … เมื่อวิกฤตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันคลี่คลายลง อำนาจกำหนดราคาของกลุ่มทุนการเงินยักษ์ใหญ่เหล่านี้จะขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแน่นอน” 


เรากำลังอาศัยอยู่ในยุคสมัยที่กระบวนการรวมศูนย์ของอำนาจและความมั่งคั่งระดับโลกกำลังเดินหน้าไปถึงจุดที่เข้มข้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังที่เราพยายามอภิปรายมาข้างต้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด หากแต่เป็นเนื้อแท้ของระบบทุนนิยม มันคือแนวโน้มของระบบทุนนิยมยุคแรกที่จะต้องเดินหน้าไปสู่การสร้างระบบทุนนิยมผูกขาดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากรากฐานของระบบทุนนิยมที่วางอยู่บนการสะสมทุนและการถือครองทรัพย์สินเอกชน และการแข่งขันกันเพื่อสะสมกำไร 


หากทว่าลำพังแต่เพียงแนวโน้มทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะอธิบายปรากฏการณ์อันสุดขั้วของระบบทุนนิยมผูกขาด เพราะอำนาจทางการเมืองเองก็มีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนและคุ้มครองให้ทุนใหญ่ผงาดขึ้นครองอำนาจ จนเรียกได้ว่าทุนใหญ่แทบจะมีอำนาจเหนือทั้งรัฐและรัฐสภาแล้ว ซึ่งเราจะอภิปรายถึงประเด็นนี้อย่างละเอียดในข้อเขียนตอนหน้า



บทความที่ได้รับความนิยม